หัวข้อ   “คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2554”
                 นักเศรษฐศาสตร์ทำนาย เศรษฐกิจปีกระต่าย GDP โต 5.0% ส่งออกโต
14.6%   เงินเฟ้อ 3.7%   อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.75%   และ  เงินบาทอยู่ที่
29.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  เปิดเผยผลสำรวจความเห็น
นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 26 แห่ง เรื่อง “
คาดการณ์เศรษฐกิจปี 2554” พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.9   เศรษฐกิจไทยจะ
ขยายตัวร้อยละ 5.0   ราคาน้ำมันดิบดูไบจะอยู่ที่ 90.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล  อัตราเงินเฟ้อ
ทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 3.7
 
                 ในส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 76.1 เชื่อว่าธนาคารแห่ง
ประเทศไทยจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่ระดับร้อยละ 2.75 ภายใน
สิ้นปี 2554 ส่วนค่าเงินบาทคาดว่าจะอยู่ที่ 29.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ   และการส่งออกจะ
ขยายตัวร้อยละ 14.6   ด้านการเคลื่อนไหวของ SET Index นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 62.0
เชื่อว่าดัชนียังคงมีทิศทางขาขึ้นโดยจุดสูงสุดของปีจะอยู่ที่ 1,150 จุด
 
                 ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2554 คือ  อันดับ 1  ปัญหาการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจโลก (ร้อยละ 67.6)   อันดับ 2  ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล (ร้อยละ 64.8)
อันดับ 3  ปัญหาด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็นค่าเงินบาทแข็งค่า/สงครามค่าเงิน/ค่าเงินหยวน (ร้อยละ 59.2)
 
                 สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาล/หน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจปี 2554 คือ
                        - รักษาความสมดุลระหว่าง การเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน โดยใช้นโยบาย
การเงินและการคลังที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา
                        - ให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
ด้วยการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ดูแลการกระจายรายได้ให้ทั่วถึงและเป็นธรรม
                        - แก้ปัญหาคอร์รัปชัน รวมถึงไม่ควรใช้นโยบายประชานิยมจนเกินไป แต่ควรเน้นนโยบายเพื่อแก้ปัญหา
ที่เกิดขึ้นจริงๆ และเป็นนโยบายที่มีความยั่งยืน
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. คาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553

 
ร้อยละ
จะขยายตัวร้อยละ 5.1 - 6.0
7.1
จะขยายตัวร้อยละ 4.1 - 5.0
36.6
จะขยายตัวร้อยละ 3.1 - 4.0
36.6
จะขยายตัวร้อยละ 2.1 - 3.0
12.7
จะขยายตัวร้อยละ 1.1 - 2.0
1.4
จะขยายตัวร้อยละ 0.1 - 1.0
1.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
4.2
ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเท่ากับ   ร้อยละ 3.9
 
 
             2. คาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553

 
ร้อยละ
จะขยายตัวร้อยละ 7.1 - 8.0
9.8
จะขยายตัวร้อยละ 6.1 - 7.0
12.7
จะขยายตัวร้อยละ 5.1 - 6.0
8.5
จะขยายตัวร้อยละ 4.1 - 5.0
45.1
จะขยายตัวร้อยละ 3.1 - 4.0
21.1
จะขยายตัวร้อยละ 2.1 - 3.0
1.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
1.4
ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเท่ากับ   ร้อยละ 5.0
 
 
             3. คาดการณ์ ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยในปี 2554

 
ร้อยละ
อยู่ในช่วง 101 - 110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
7.0
อยู่ในช่วง 91 - 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
35.2
อยู่ในช่วง 81 - 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
52.2
อยู่ในช่วง 71 - 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลโดยเฉลี่ย
2.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
2.8
ค่าเฉลี่ยของราคาน้ำมันดิบดูไบเท่ากับ   90.3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
 
             4. คาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยปี 2554

 
ร้อยละ
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 5.1 - 6.0
1.4
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 4.1 - 5.0
21.1
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 3.1 - 4.0
69.1
อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.1 - 3.0
5.6
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
2.8
ค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ   3.7
 
 
             5. คาดการณ์ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปี 2554

 
ร้อยละ
ธปท. จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบันไปสู่
        ระดับร้อยละ 2.75 ภายในปี 2554
76.1
ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันตลอดปี 2554
12.7
ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับปัจจุบัน
1.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
9.8
 
 
             6. คาดการณ์ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท โดยเฉลี่ย ในปี 2554

 
ร้อยละ
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 31.1 - 32.0 บาทต่อดลลาร์สหรัฐ
2.8
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 30.1 - 31.0 บาทต่อดลลาร์สหรัฐ
16.9
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 29.1 - 30.0 บาทต่อดลลาร์สหรัฐ
25.4
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 28.1- 29.0 บาทต่อดลลาร์สหรัฐ
38.0
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 27.1- 28.0 บาทต่อดลลาร์สหรัฐ
9.9
ค่าเงินบาทจะอยู่ระหว่าง 26.1- 27.0 บาทต่อดลลาร์สหรัฐ
1.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
5.6
ค่าเฉลี่ยของค่าเงินบาท เท่ากับ   29.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
 
 
             7. คาดการณ์ การขยายตัวของ การส่งออกของไทยในปี 2554 เมื่อเทียบกับปี 2553
                 (ในรูปของเงินบาท)

 
ร้อยละ
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 21 - 25
7.0
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 16 - 20
32.4
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 11 - 15
40.9
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 6 - 10
11.3
ขยายตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 1 - 5
2.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
5.6
ค่าเฉลี่ยของการขยายตัวการส่งออกเท่ากับ   ร้อยละ 14.6
 
 
             8. คาดการณ์ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ในปี 2554

 
ร้อยละ
SET Index จะปรับเพิ่มขึ้น จากปี 53 โดยจุดสูงสุดของปี 54
      คาดว่าจะอยู่ที่ 1,150 จุด
62.0
SET Index จะปรับลดลง จากปี 53 โดยจุดต่ำสุดของปี 54
      คาดว่า จะอยู่ที่ 900 จุด
7.0
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
31.0
 
 
             9. ปัจจัยเสี่ยงใดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยปี 2554 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
อันดับ 1 เศรษฐกิจโลกในภาพรวม (การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก)
67.6
อันดับ 2 ปัญหาการเมือง/การชุมนุมประท้วง/เสถียรภาพของรัฐบาล
64.8
อันดับ 3 อัตราแลกเปลี่ยน (ค่าเงินบาทแข็งค่า/สงครามค่าเงิน/ค่าเงินหยวน)
59.2
อันดับ 4 ราคาน้ำมัน (ปรับเพิ่มขึ้น)
46.5
อันดับ 5 อัตราดอกเบี้ย (ปรับเพิ่มขึ้น)
11.3
อันดับ 6 ปัญหาภัยธรรมชาติ
11.3
อันดับ 7 การเปิดเสรีของกลุ่มการค้าอาเซียน
7.0
อันดับ 8 ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีมาบตาพุด และแหลมฉบัง เป็นต้น
4.2
อันดับ 9 ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน
4.2
อันดับ 10 อื่นๆ เช่น การผลิตภาคการเกษตรที่มีความเสี่ยง เงินเฟ้อ เป็นต้น
2.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
1.4
 
 
             10. ข้อเสนอต่อรัฐบาล/หน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจปี 2554
                   (เป็นคำถามปลายเปิดให้นักเศรษฐศาสตร์ระบุเอง)

ข้อเสนอระยะสั้น (ภายใน 1 ปี)
    -  รักษาความสมดุลระหว่าง การเติบโตทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยน
       โดยใช้นโยบายการเงินและการคลังที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา
    -  ให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศให้เพิ่มขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวน
       ของเศรษฐกิจโลก โดยการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ ดูแลการกระจายรายได้
       ให้ทั่วถึงและเป็นธรรม
    -  แก้ปัญหาคอร์รัปชัน รวมถึงไม่ควรใช้นโยบายประชานิยมจนเกินไป แต่ควรจะเน้น
       นโยบายเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ และเป็นนโยบายที่มีความยั่งยืน
    -  รีบลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
                      โดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิด
                      ประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง
               จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
               ด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 26 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการ
               พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สำนักงานเศรษฐกิจ
               การคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม   มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย    สถาบันวิจัยเศรษฐกิจการคลัง    ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
               ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารไทยพาณิชย์   ธนาคารนครหลวงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารเพื่อการ
               ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร  บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส   บริษัทหลักทรัพย์
               ฟินันเซีย ไซรัส   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ (ประเทศไทย)   บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า  บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน
               บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน    คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยทักษิณ    คณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น   และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
               และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 9 - 15 ธันวาคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 ธันวาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
33
46.5
             หน่วยงานภาคเอกชน
24
33.8
             สถาบันการศึกษา
14
19.7
รวม
71
100.0
เพศ:    
             ชาย
38
53.5
             หญิง
33
46.5
รวม
71
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.3
             26 – 35 ปี
30
42.3
             36 – 45 ปี
22
31.0
             46 ปีขึ้นไป
18
25.4
รวม
71
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
2
2.8
             ปริญญาโท
53
74.7
             ปริญญาเอก
16
22.5
รวม
71
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
13
18.3
             6 - 10 ปี
22
31.0
             11 - 15 ปี
11
15.5
             16 - 20 ปี
8
11.3
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
17
23.9
รวม
71
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776